ก่อนจะไปพบกับงาน Collaboration สุดพิเศษระหว่าง Carnival เเละ Grateful Dead เราขอถือโอกาสนี้พาทุกคนไปรู้จักกับเบื้องหลังลวดลายสุดพิเศษที่เรานำมาใช้ในงาน Collab ครั้งนี้ ทั้งลายน้องหมีสีสันสุดน่ารัก ลายหัวกะโหลกโลโก้สุดคลาสสิค หรือลายโครงกระดูกกับดอกกุหลาบ ที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่บ่อยครั้งตามงาน Artwork ของทางวง Grateful Dead วันนี้เราจะมาเปิดประวัติกันให้หมดเปลือก ว่าเเต่ละลายนั้นมีที่มาจากไหนเเละมีความหมายอะไรที่ซ่อนอยู่ บอกได้เลยถ้ารู้เเล้ว! จะยิ่งอินกับคอลเลคชั่น Carnival X Grateful Dead มากยิ่งขึ้นเเน่นอน!
Grateful Dead
ก่อนจะไปรู้จักกับเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใน Artwork ต่างๆของทางวง Grateful Dead เรามาทำความรู้จักประวัติคร่าวๆของทางวงกันก่อนดีกว่า Grateful Dead วงร็อคสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งวงขึ้นในปี 1960 โดยมีสมาชิกในยุคก่อตั้งวงอย่าง Jerry Garcia นักร้องและมือกีต้าร์ Bob Weir นักร้องและมือกีต้าร์ Ron McKernan มือคีย์บอร์ดเเละฮาร์โมนิก้า Phil Lesh มือเบสและนักร้อง Bill Kreutzmann มือกลอง
Grateful Dead เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความเป็นเอกลักษณ์เเละสไตล์การผสมผสานของเเนวเพลงที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งแนว rock, folk, blues, reggae, country, jazz เเละ psychedelia รวมถึงในเรื่องลีลาการเเสดงสดที่สุดมันส์ จนพวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น วงดนตรีผู้บุกเบิกการเล่นสไตล์ Jam Band (สไตล์การแสดงสดของวงดนตรีที่รวมเอาเเนวดนตรีหลายๆเเนวเข้าไว้ด้วยกัน)
และถ้าถามว่าวง Grateful Dead นั้นดังขนานไหน? ก็ดังขนาดที่ถูกจัดอันดับให้เป็นศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลในลำดับที่ 57 ของ นิตยสารโรลลิ่งสโตน (Rolling Stone Magazine) และถูกบันทึกในหอแห่งเกียรติยศร๊อคแอนด์โรล (Rock and Roll Hall of Fame) ในปี 1994 อีกด้วย
Steal Your Face Logo
เมื่อรู้จักประวัติคร่าวๆของทางวงกันไปเเล้ว ก็ถึงเวลามารู้จักกับเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใน Artwork ต่างๆของทางวง Grateful Dead กันบ้าง ขอเริ่มที่โลโก้คลาสสิคอย่าง “Steal Your Face” โลโก้รูปหัวกะโหลก ที่มีสายฟ้าผ่าตรงกลาง โลโก้สุดคุ้นตาที่ต่อให้ไม่เคยฟังวงนี้เลยเเต่อย่างน้อยหลายคนก็น่าจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง โดยจุดเริ่มต้นไอเดียนั้นมาจาก Owsley Stanley ที่ทำหน้าที่เป็น Soundman ของวงเเละยังรับหน้าที่เป็นนักออกแบบโลโก้ของวงอีกด้วย
โลโก้ Steal Your Face นั้นได้รับเเรงบันดาลใจมาจาก วันหนึ่งขณะที่ Stanley กำลังขับรถ MGTF คู่ใจของเขาออกไปข้างนอก เขาได้มองออกไปนอกหน้าต่างรถ เเล้วบังเอิญเหลือบไปเห็นป้ายทางด่วนอเมริกัน ที่มีสีเเดงฟ้าเเละขาว เขาจึงเกิดไอเดีย ถ้าลองเปลี่ยนป้ายเป็นรูปหัวกะโหลกเเล้วใช้สัญลักษณ์สายฟ้าฟาดมาไว้ตรงกลางมันคงจะเท่ดี
Stanley จึงได้เอาไอเดียนี้ไปปรึกษากับ Bob Thomas (จิตรกรผู้ช่วยของ Stanley) ว่าเขาอยากได้โลโก้ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวง เพราะเวลาที่ Grateful Dead ไปเเสดงในงาน Festival ร่วมกับวงอื่น ๆ ปัญหาก็คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่หลังเวทีมักจะถูกผสมปนเปกัน จนเเยกไม่ออกว่าของใครเป็นของใคร Stanley จึงอยากได้อะไรที่เป็นเหมือนเครื่องหมายที่สามารถบอกได้ว่าสิ่งนี้เป็นของ Grateful Dead โดย Stanley ได้ให้โจทย์กับทาง Thomas ไปว่า เขาอยากได้โลโก้ที่ภาพครึ่งหนึ่งเป็นสีเเดงเเละอีกครึ่งหนึ่งเป็นสีฟ้า พาดกึ่งกลางด้วยสายฟ้าสีขาว เเละให้เขียนคำว่า Grateful Dead ลงไปด้วย หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง Thomas ก็เดินกลับมาพร้อมกับโลโก้หัวกะโหลกสุดคลาสสิคที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ระดับตำนานของทางวง
โดยโลโก้เต็มรูปแบบ นั้นถูกใช้ครั้งเเรกบนปกอัลบั้มบันทึกการเเสดงสดของวง ในชื่ออัลบั้ม “Steal Your Face” ในปี 1976 ส่วนที่มาของคำว่า Steal Your Face นั้นมาจากคำศัพท์สเเลงในหมู่วัยรุ่นอเมริกา ที่มักใช้ในเวลาที่ต้องการขอ LSD (สารเสพติดชนิดหนึ่ง) จากเพื่อน ต้องบอกก่อนว่าในยุคสมัยนั้นสาร LSD นั้นระบาดหนักมากในหมู่วัยรุ่นอเมริกา เเละสมาชิกวง Grateful Dead นั้นก็ขึ้นชื่อในเรื่องของการใช้สาร LSD อยู่เเล้ว ถึงขั้นมีเเฟนคลับหลายคนตีความ ว่าหนามเเหลมรูปสายฟ้าบนปกอัลบั้ม Steal Your Face ที่มี 13 อันก็เพราะว่า มาจาก 13 ขั้นตอนในการผลิตสาร LSD หรือบางกลุ่มก็เชื่อว่ามาจาก 13 อาณานิคมดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกา
Dancing Bears
มาต่อกันที่อีกหนึ่งสัญลักษณ์เเห่งวง Grateful Dead นั่นก็คือ เจ้าหมีสีสันสดใส Dancing Bear เป็นผลงานการออกแบบของ Bob Thomas เจ้าเก่านั่นเอง โดยเจ้าหมีทั้ง 5 ได้รับเเรงบันดาลใจมาจาก เเป้นพิมพ์ตะกั่วรูปหมี ซึ่ง Thomas พบโดยบังเอิญในกล่องแบบอักษรของเครื่องพิมพ์แบบเก่า
อีกเรื่องหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิด คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเจ้าหมีกำลังเต้นอยู่ เเต่ Thomas ได้ออกมาชี้เเจงภายหลังบนเว็ปไซต์ของเขาว่า “จริง ๆ เเล้วหมี พวกมันกำลังเดินทัพด้วยการเตะขาสูงแบบทหาร เเต่การจินตนาการว่าพวกหมีกำลังเต้นรำเเละสนุกไปกับเสียงเพลงนั้นสนุกกว่า ดังนั้นเรายินดีที่จะให้ผู้คนคิดแบบนั้น”
เจ้าหมีเหล่านี้ปรากฎครั้งเเรกบนหลังปกอัลบั้ม History of the Grateful Dead, Volume One (Bear's Choice) ในปี 1973 หลังจากนั้นเจ้าหมีก็ไปปรากฏในสื่อทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนกระดาษ LSD ที่มักจะมีรูปหมีพวกนี้ติดอยู่ เเละด้วยการระบาดของ LSD จึงทำให้รูป Dancing Bear ติดตาในหมู่วัยรุ่น จนกลายเป็นความนิยมในยุค 60 เลยก็ว่าได้
Bertha (Skull & Roses)
อีกหนึ่งภาพสัญลักษณ์จากวง Grateful Dead นั่นก็คือภาพ Skull & Roses ถูกใช้ครั้งเเรกโดยนักออกแบบ Alton Kelley เพื่อโปรโมทคอนเสิร์ต Dead Show ที่ซานฟรานซิสโก ในปี 1966 เเต่จริง ๆ ภาพนี้เกิดขึ้นมาก่อนวง Grateful Dead ถึง 50 ปี ภาพนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1913 โดย Edmund Joseph Sullivan นักวาดภาพประกอบหนังสือชาวอังกฤษ ภาพ Skull & Roses นั้นโด่งดังมากในศตวรรษที่ 11
ด้วยความโด่งดังเเละสไตล์ของภาพนั้นเข้ากับทางวง Grateful Dead เป็นอย่างมาก Alton Kelley นักออกแบบผู้ได้รับมอบหมายให้ทำโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ตในครั้งนี้ จึงได้นำภาพ Skull & Roses มาดีไซน์ใหม่ จากเดิมที่เป็นภาพวาดสีขาว-ดำ เขาได้เเต่งเเต้มสีสันเเละเติมความเป็น Grateful Dead ลงไป จนได้ออกมาเป็นโปสเตอร์ระดับตำนานที่เรายังเห็นกันอยู่จนถึงทุกวันนี้
5 ปีต่อมาหลังจากคอนเสิร์ต Dead Show ทางวงได้ใช้ภาพนี้อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ภาพ Skull & Roses ถูกใช้เป็นภาพหน้าปกอัลบั้ม Grateful Dead อัลบั้มชื่อเดียวกับทางวง ในปี 1971 เเละในหมู่เเฟนคลับมักจะเรียกอัลบั้มนี้อีกชื่อว่า “Bertha” เพราะ Bertha เป็น Track เเรกในอัลบั้มโดยเนื้อหาในเพลงจะเกี่ยวกับการหายตัวไปของหญิงสาว ที่อาจจะเเค่หายตัวไปเฉยๆหรือถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้ ด้วยเนื้อหาที่มีความลึกลับ ทำให้ภาพลักษณ์ของอัลบั้ม Grateful Dead กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Bertha ไปเลย
ยังมีอีกหนึ่งข่าวลือเกี่ยวกับเเรงบันดาลใจในเพลง Bertha ว่าจริงๆเเล้ว Bertha คือชื่อ พัดลมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสตูดิโอของวง เเละเจ้า Bertha นั้นมักจะเคลื่อนที่เเกว่งไปมาจนเกือบจะตัดนิ้วสมาชิกในวง เเต่ภายหลัง Robert Hunter ผู้เเต่งเพลง ได้ออกมาปัดข่าวลือ ว่าจริงๆเเล้ว “Bertha มีความหมายเเฝงเเปลว่า ‘การกลับชาติมาเกิด’ ในอัลบั้มนี้เราตั้งใจจะพูดถึงเรื่อง วัฏจักรของการดำรงอยู่ การเกิดเเละการตาย ไม่ได้มีส่วนไหนที่พูดถึงเรื่องพัดลมเลย ข่าวลือพวกนั้นมันไร้สาระ”
Terrapin Station Turtles
อีกหนึ่งภาพที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เเต่มีเรื่องราวเจ๋ง ๆ ซ่อนอยู่ นั่นก็คือภาพปกอัลบั้ม Terrapin Station ในปี 1977 เป็นผลงานการออกของ Stanley Mouse เเละ Alton Kelley คนเดียวกับที่ออกแบบภาพ Bertha Skull & Roses นั่นเอง โดยภาพนี้ได้เเรงบันดาลใจมาจากเพลง Terrapin Station โดยเนื้อหาในเพลงจะพูดถึง ความท้าทายในชีวิตที่ทุกคนต้องเผชิญอาจจะมีดีบ้าง เเย่บ้าง เเต่สักวันเราทุกคนจะเจอสถานีรถไฟลึกลับ Terrapin ในเวอร์ชั่นของตัวเอง เป็นเพลงช้าเพราะ ๆ ความหมายเชิงให้กำลังใจตามสไตล์ของวง Grateful Dead
ส่วนเหตุผลทำไมต้องเป็นภาพเต่า Robert Hunter นักเเต่งเพลงของวงได้บอกไว้ว่า เพราะเต่านั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พวกมันสามารถอยู่รอดได้ทั้งบนบกเเละในน้ำ เเละเต่ายังดูเป็นสัตว์ที่มีภาพลักษณ์สบายๆเหมาะกับดนตรีของวง Grateful Dead
Uncle Sam Skeleton
ดินทางมาถึงภาพสุดท้ายกันเเล้วกับภาพ Uncle Sam Skeleton หรือ โครงกระดูกลุงเเซม หลายคนน่าจะเคยเห็นว่างานศิลปะหลาย ๆ ภาพของวง Grateful Dead มักมีรูปลุงเเซมมาเกี่ยวข้อง นั่นก็เพราะว่า Grateful Dead ถึงเเม้พวกเขาจะเป็นวงดนตรีสัญชาติอเมริกัน เเต่พวกเขาเองกลับต่อต้านความเป็นอเมริกันเเละมักเสียดสีความเป็นอเมริกันลงในเนื้อเพลงอยู่บ่อยครั้ง อย่างเพลง “U.S. Blues” ที่มีเนื้อหาเสียดสีการทหารเเละการเมืองในยุคนั้น ซึ่งในท่อนเเรกของเพลงได้มีการกล่าวถึงลุงเเซมอีกด้วย ส่วนเหตุผลที่ทำไมต้องเป็นลุงเเซม ก็เพราะว่า ลุงเเซมเปรียบเสมือนเป็นภาพจำของอเมริกาหรืออีกนัยหนึ่งยังหมายถึงรัฐบาลกลางได้อีกด้วย
ส่วนภาพโครงกระดูกลุงเเซมนั้นปรากฎครั้งเเรกในภาพยนตร์เรื่อง “The Grateful Dead Movie” ในปี 1977 ออกแบบโดย Gary Gutierrez เเละในปี 1991 ภาพโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ต The Dead ก็ยังเป็นรูปลุงเเซม จนในตอนนี้ลุงเเซมได้กลายเป็นอีกหนึ่งภาพจำของวง Grateful Dead ไปเเล้ว
เพื่อนๆสามารถเลือกซื้อสินค้า CARNIVAL® x Grateful Dead “Miracle Me” collection ได้เเล้วที่ลิ้งสินค้าด้านล่าง รับรองได้เลยว่าเเต่ละไอเทมสวยถูกใจเหล่าสาวก Deadhead เเน่นอน!